วันอังคารที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2557

ประวัติ ประกันสังคมประเทศไทย

คิดว่า "มนุษย์เงินเดือน" อย่างเราๆ ทุกคนต้องรู้จักคุ้นเคยกับ "ประกันสังคม" กันเป็นอย่างดี ในอดีตเมื่อพูดถึงประกันสังคม คนส่วนใหญ่มักจะร้องยี้เพราะตนเองรู้สึกไม่คุ้มค่ากับการต้องถูกหักเงินเดือนเข้ากองทุนประกันสังคมทุกๆ เดือน ด้วยเมื่อเวลาไปหาหมอที่โรงพยาบาล บางคนจะบอกว่าเขาได้รับแต่ยาพาราเซตามอลแก้ปวด หรือไม่ก็ยาต้านอักเสบ ซึ่งถ้าคิดแบบไม่อคติจะบอกว่าเราควรจะขอบคุณที่เราป่วยเล็กๆน้อยๆ ได้ยาพาราเซตามอล ซึ่งต่างจากผู้ประกันตนอีกหลายคนที่ป่วยรุนแรงถึงขั้นต้องใช้ยาเคมีบำบัด หรือผ่าตัดสมอง ซึ่งผู้ป่วยหลายหลังส่วนใหญ่มักจะขอบคุณที่มีประกันสังคม ไม่เช่นนั้นชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัวคงเหมือนถูกซ้ำเติมจากโรคร้าย เพราะไม่มีเงินค่ารักษาพยาบาล

กลับมาที่เรื่องเริ่มต้นของเราที่จะพูดถึงกันเลย นั่นคือ ประวัติ ความเป็นมาของประกันสังคมในประเทศไทย

กองทุนเงินทดแทน เกิดขึ้นในประเทศไทยครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2515 ภายใต้การบริหารของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน กรมแรงงาน ตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 โดยในปีแรกของ การให้ความคุ้มครอง จะครอบคลุมเฉพาะ สถานประกอบการที่มีลูกจ้าง 20 คนขึ้นไปที่อยู่ในเขตกรุงเทพฯ แล้วจึงค่อย ๆ ขยายความคุ้มครองออกไปจนครบทุกจังหวัด ทั่วประเทศใน วันที่ 1 กรกฎาคม 2531

จวบจนกระทั่งได้มีการผลักดันพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 2 กันยายน 2533 เป็นต้นมา

ประเทศไทยจึงมีการประกันสังคมอย่างเต็มรูปแบบ โดยลูกจ้างจะได้รับความคุ้มครอง ทั้งในเรื่องการประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยทุพพลภาพ และตาย ทั้งนี้เนื่องและไม่เนื่องจากการทำงาน รวมไปถึงการคลอดบุตรสงเคราะห์บุตร ชราภาพ และการว่างงาน เฉกเช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ

ลักษณะเครื่องหมายสำนักงานประกันสังคม
เป็นภาพอักษร 3 ตัวคือ สปส. มีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม ตั้งเรียงบนฐานในกรอบทรงรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ด้านข้างซ้ายและขวามีเส้นตรง 3 เส้นลักษณะคล้ายเสาพุ่งขนานไปสู่จุดยอดของสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ด้านล่างของฐานมีข้อความว่า " สำนักงานประกันสังคม " (Social Security Office)


ความหมาย
จากภาพเครื่องหมายราชการ ตัวอักษรเป็นชื่อย่อของสำนักงานประกันสังคมและที่เป็น ทรงสามเหลี่ยมแสดงออกถึงการร่วมมือร่วมใจและความรับผิดชอบร่วมกันทั้ง 3 ฝ่าย คือ รัฐบาล นายจ้างและลูกจ้าง สำหรับเส้นตรง 3 เส้นที่พุ่งขนานไปสู่จุดยอดของสามเหลี่ยมหน้าจั่วเปรียบเสมือนเสาหลัก 3 เสาที่มั่นคงของสำนักงานประกันสังคมและแสดงให้เห็นการผนึกกำลังช่วยเหลือเกื้อกูลกันพัฒนางานประกันสังคม ให้มีความเจริญรุ่งเรืองไปสู่จุดยอดอันเป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ สีน้ำเงินและสีทอง แสดงให้เห็นถึงความมั่นคงของสำนักงานประกันสังคม

ทำไมต้องมีประกันสังคม?