วันจันทร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ช่องทางการออมเงินเพื่อวัยเกษียณ

ช่องทางการออมเงินเพื่อวัยเกษียณ


วัยทำงาน เป็นช่วงวัยที่มีความสำคัญมากที่สุดช่วงหนึ่งของชีวิต คือ ช่วงวัย ของการทำงาน ซึ่งเป็นช่วงวัยที่ต้องอาศัยแรงกายแรงใจ ในการหาเลี้ยงชีพและครอบครัว เป็นช่วงวัยที่มีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอีกด้วย ในการทำงานนั้นมักจะพบกับสิ่งคุกคามสุขภาพหลากหลายแตกต่างกันในแต่ละอาชีพ ทั้งที่เรารู้ตัวและไม่รู้ตัว

เมื่อพูดถึงการเตรียมความพร้อมหลังผ่านพ้นวัยทำงาน หรือ เข้าสู่วัยเกษียณ ทุกๆคนคงมีแผนกันในใจว่าจะออมเงินอย่างไร เพื่อให้มีเพียงพอไว้ใช้จ่ายยามเกษียณ หรือยามที่ไม่ได้ทำงานแล้ว
จะได้ไม่เป็นภาระของใคร

ซึ่งปัจจุบันก็มีหลายช่องทางทั้งบังคับและสมัครใจ โดยภาครัฐให้ความสำคัญกับเรื่องการออมนี้มาก จึงได้สนับสนุนให้มีช่องทางการออมใหม่ๆ เพื่อให้ครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่มรวมทั้งให้ออมเพิ่มขึ้น

มาดูกันว่าปัจจุบันระบบการออมในประเทศไทย มีอะไรบ้างภายใต้แนวทางของ World Bank ซึ่งได้กำหนดเป็นเสาหลักของเงินได้เมื่อยามเกษียณ (Multi-Pillar) แบ่งเป็น 5 เสาหลัก โดยขอสรุปภาพรวมให้เห็น ดังนี้



  • เสาหลักแรก (Pillar 0) หมายถึง สวัสดิการขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นการให้เปล่าจากรัฐแก่ประชาชนทั่วไป ในประเทศไทยตอนนี้มีเพียง เบี้ยยังชีพคนชราและคนพิการ และบำนาญข้าราชการแบบเดิม
  • เสาหลักที่ 1 (Pillar 1) หมายถึง ระบบประกันสังคม  เพื่อบรรเทาความยากจน ได้แก่ กองทุนประกันสังคม ซึ่งเป็นการออมระหว่างแรงงานในระบบภาคเอกชน กับ นายจ้าง และมีรัฐช่วยสมทบ
     
  • เสาหลักที่ 2 (Pillar 2) หมายถึง การออมภาคบังคับ ได้แก่ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ซึ่งรองรับเฉพาะข้าราชการเท่านั้น โดยมีรัฐซึ่งเป็นนายจ้างช่วยสมทบ จะเห็นได้ว่าในการออมส่วนนี้  ยังไม่ได้รองรับบังคับแรงงานภาคเอกชนทั้งในและนอกระบบ แต่เปิดให้กลุ่มหลังสมัครใจออมตามความสามารถของแต่ละคน ซึ่งจะอยู่ใน Pillar 3
  • เสาหลักที่ 3 (Pillar 3) หมายถึง การออมภาคสมัครใจ ได้แก่ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) รวมถึงการซื้อประกันชีวิตประเภทการออม
  • เสาหลักที่ 4 (Pillar 4) หมายถึง การออมส่วนบุคคล  ที่ไม่อยู่ในรูปกองทุน (Non-Pension fund) ได้แก่ เงินฝากธนาคาร เงินฝากสหกรณ์ รายได้จากการลงทุน เงินได้จากครอบครัวลูกหลานที่ให้มา ทรัพย์สมบัติต่าง ๆ ที่มีมูลค่าซื้อขายได้ (เช่น บ้าน เครื่องประดับ เพชร พลอย ภาพวาด พระเครื่อง หรือแสตมป์ เป็นต้น)

            จากรูปเสาหลักการออมข้างต้น จะเห็นว่า เสาหลักที่ 1- 3 จัดตั้งอยู่ในรูปของกองทุน ที่เรียกกันทั่วไปว่า “Pension fund” ซึ่งหมายถึง กองทุนการออมเพื่อยามเกษียณ แต่เสาหลักแรกที่เป็นศูนย์เพราะยังไม่ถือเป็น Pension fund เนื่องจากแหล่งที่มาของเงิน จะมาจากรายได้ของรัฐฝ่ายเดียวเป็นเงินให้เปล่า
       
    ปัจจุบัน ดูเหมือนระบบการออมหรือสวัสดิการของประเทศไทยเรามีครบทุกเสา แต่ยังไม่ครอบคลุมทุกกลุ่ม เช่น แรงงานนอกระบบหรือผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ ซึ่งมีประมาณร้อยละ 70 ของแรงงานทั้งหมด ที่ยังไม่สามารถเข้าในระบบ Pension fund (Pillar 1-3) ได้ จึงทำให้ภาครัฐสนับสนุนให้มีการจัดตั้งกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ซึ่งเป็นภาคสมัครใจ เพื่อเปิดโอกาสให้แรงงานนอกระบบดังกล่าว สมัครเป็นสมาชิกกองทุนโดยรัฐเป็นผู้จ่ายสมทบให้ ซึ่งตามแผนรัฐบาลจะจัดตั้งกองทุนนี้ภายในไตรมาส 4 ปี 2553 ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาร่างกฎหมายของคณะกรรมการกฤษฎีกาค่ะ
           
      เราก็พอทราบแล้วนะคะว่าระบบการออมในประเทศไทยของเราเปิดให้ออมได้หลายช่องทาง ทั้งภาคสมัครใจและภาคบังคับ ซึ่งการออมแต่ละช่องทางก็ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายสมทบให้หรือการยกเว้นภาษีเงินได้ ทำให้เห็ฯว่า การออมมีแต่ได้ประโยชน์ ดังนั้นอย่ารอช้า มาออมเงินกันดีกว่า เพื่อชีวิตที่ดีในยามเกษียณ