วันพฤหัสบดีที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ไวรัส Ebola คืออะไร

อีโบลาคืออะไร

อีโบลา อยู่ในกลุ่มโรคไข้เลือดออก เกิดจากเชื้อไวรัสอีโบลา ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดประมาณ 80 นาโนเมตร ยาว 790-970 นาโนเมตร ป็นโรคติดต่อร้ายแรงที่สุดโรคหนึ่งในโลก ได้ชื่อมาจากพื้นที่ลุ่มแม่น้ำอีโบลา ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ทวีปแอฟริกา (ชื่อประเทศเดิมคือ ซาอีร์) ซึ่งเป็นที่พบผู้ติดเชื้อครั้งแรกเมื่อปี 2519
อีโบลามี 5 สายพันธุ์ย่อยที่สามารถติดต่อในคน ได้แก่
  • สายพันธุ์ย่อย Bundibugyo ebolavirus (BDBV)
  • สายพันธุ์ย่อย Zaire ebolavirus (EBOV)
  • สายพันธุ์ย่อย Sudan ebolavirus (SUDV)
  • สายพันธุ์ย่อย Reston ebolavirus (RESTV)
  • สายพันธุ์ย่อย Tai Forest ebolavirus (TAFV)
ทั้งนี้ สายพันธุ์ในข้อ 1 – 3 เป็นสายพันธุ์ที่รุนแรงที่ก่อการระบาดในแอฟริกา ส่วนอีก 2 สายพันธุ์ที่เหลือยังไม่พบว่าก่อให้เกิดการระบาด และสายพันธุ์ RESTV เป็นสายพันธุ์ที่พบในจีนและฟิลิปปินส์ ที่ยังไม่เคยก่อการระบาด และยังไม่เคยเป็นเหตุให้เสียชีวิต
ebola002อาการของผู้ติดเชื้ออีโบลา
ระยะฟักตัว 2-21 วัน โรคนี้ พบได้ทุกกลุ่มอายุ อาการของโรคมีความผันแปรและมักเกิดฉับพลัน อาการแรกเริ่มได้แก่การมีไข้สูง (อย่างต่ำ 38.8°C หรือ 102°F) ปวดศีรษะอย่างรุนแรง ปวดกล้ามเนื้อ ข้อและช่องท้องรุนแรง อ่อนเพลียอย่างหนักและวิงเวียนศีรษะ ในช่วงแรกๆ ที่เกิดการระบาดและยังไม่เป็นที่รู้จักมากมักวินิจฉัยว่าเป็นไข้มาลาเรีย ไข้ไทฟอยด์ ท้องร่วง ไข้หวัดใหญ่ รวมทั้งโรคอื่นๆ ที่เกิดจากแบคทีเรียซึ่งมีอาการคล้ายกันแต่ไม่รุนแรงถึงชีวิต
อาการอาจร้ายแรงขึ้น เช่นท้องร่วงอย่างแรง อุจจาระกลายเป็นสีดำหรือแดงจัด อาเจียนเป็นโลหิต ตาแดงจัด ความดันโลหิตลดต่ำกว่า 90/60 ไต ม้ามและตับได้รับความเสียหาย อัตราการตายสูงมากถึงระหว่าง 50% – 90% สาเหตุที่ตายเกิดจากขาดเลือด หรืออวัยวะวาย
Bt2AR1WCAAIOIXyอีโบลาติดต่อได้ยังไง
สามารถติดต่อ 2 ทาง
1. ติดต่อจากสัตว์ โดยการสัมผัส ตัวสัตว์ สารคัดหลั่งของสัตว์ และ/หรือ กินสัตว์ที่เป็นพาหะโรคนี้ เช่น ช่น ลิง หรือ ค้างคาวผลไม้ ซึ่งเป็นสัตว์ที่ชาวแอฟริกานิยมจับทำอาหาร
2. ติดต่อจากคนสู่คน โดยการคลุกคลีใกล้ชิดสัมผัสสารคัดหลั่ง (ที่รวมถึง น้ำอสุจิ และน้ำจากช่องคลอด) ของคนที่ติดเชื้อโรคนี้ (และเชื่อว่า การติดต่ออาจเกิดได้จากการไอ จาม หัวเราะซึ่งละอองน้ำลายมีขนาดใหญ่ แต่ยังไม่มีรายงานการติดต่อทางการหายใจ) ซึ่งการติด ต่อจากคนสู่คนนี้ เป็นวิธีการที่ทำให้เกิดการระบาดได้อย่างกว้างขวางจากโรคนี้สามารถติดต่อ กันได้ง่ายและอย่างรวดเร็ว

การรักษา
ปัจจุบันยังไม่มียังยาที่ใช้รักษาโรคอีโบลา คุณหมอทำได้แต่คอยประคับประคองตามอาการในโรงพยาบาล
ebola003สถานะการณ์ปัจจุบัน
ค่อนข้างน่าเป็นห่วงเพราะกำลังระบาดอย่างหนักในทวีปแอฟริกา ทั้งประเทศกินี ไลบีเรีย และเซียร์ราลีโอ ปีนี้มียอดผู้ป่วยเกือบๆ 1,200 ราย เสียชีวิตไปกว่าครึ่ง ต่อนนี้ทั่วโลกกำลังตระหนักถึงสถานะการณ์นี้และตื่นตัวจึงมีการคุมเข้านักเดินทางที่มาจากประเทศเสี่ยง อย่างเมื่อคืนนี้ที่ประเทศฮ่องกนก็มีการตรวจสอบคนของตัวเองที่ไปประเทศเคนยามาเหมือนกันแต่ก็ไม่พบอะไร
แล้วก็มีอีกเรื่องที่อยากจะพูดถึงคือารสูญเสีย นายแพทย์ชีคห์ อูมาร์ คาน วัย 39 ปี จากไวรัสอีโบลา นายแพทย์ชีคห์ได้รับการยกย่องว่าเป็น  “วีรบุรุษของชาติเซียร์ราลีโอน” จากบทบาทของเขาในการต่อสู้เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของเชื้ออีโบลาและช่วยชีวติคนไข้ได้หลายคนในเซียร์ราลีโอน และยังมีพยาบาล 3 คน ที่ทำงานร่วมกับ ดร.คาน เสียชีวิตด้วย ขอยกย่องในความเสียสละและขอแสดงความเสียใจในที่นี้ด้วยครับ
ebola001คนไทยควรตื่นตัวแค่ไหน
ebola004จากรูปแม้ดูเหมือนจะเกิดไกลประเทศไทย และไม่เคยมีการค้นพบผู้ติดเชื้อ แต่เราก็ควรจะรู้ และช่วยกันสอดส่อง เพื่อวันหนึ่งถ้ามันมาจริงเราจะได้ไม่แตกตื่นสติแตกกระเจิง ย้ำอีกนิดว่าพื้นที่ประเทศสีฟ้าและสีน้ำเงินน้ำเงินคือประเทศที่พบเชื้ออีโบลาในลิงและหมูนะครับเป็นอีโบลา 2 สายพันธุ์ที่ยังไม่เคยก่อการระบาด และยังไม่เคยเป็นเหตุให้เสียชีวิต
ประเทศไทยของเรานั้นโอกาสเสี่ยงค่อนข้างต่ำครับ เพราะที่ต่างประเทศในประเทศเสี่ยงก็มีการคุมเข้มผู้ที่จะออกเดินทางไปนอกประเทศ แล้วก็ในประเทศของเราเองมีการป้องกันคุมเข้มในระดับที่น่าไว้ใจได้โดยประเทศของเรามีทีมงานด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศอยู่ เครื่องไม้เครื่องมือก็ทันสมัย ซึ่งเราก็ติดตามข่าวสารแล้วก็ร่วมให้กำลังใจพวกเขากันได้ที่http://thaigcd.ddc.moph.go.th หรือที่เฟสบุ๊ค https://www.facebook.com/HealthControl.SVB
อีกทั้งกระทรวงสาธรณสุขขอกเราเองก็ไม่ได้นิ่งนอนใจครับ ​ได้จัดระบบเฝ้าระวังและป้องกันไว้แล้วคือ
  • ให้กรมควบคุมโรคติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ทั่วประเทศเฝ้าระวังผู้ป่วย โดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติ หรือคนไทยที่เดินทางมาจากพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค หากพบผู้มีอาการอยู่ในข่ายสงสัยให้รายงานทันที
  • ให้โรงพยาบาลทุกแห่งใช้มาตรการดูแลรักษา หากมีผู้ป่วยมีอาการในข่ายสงสัยในระดับเดียวกับโรคไข้หวัดนก ,รคซาร์ส เป็นต้น
  • ให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เตรียมความพร้อมในการตรวจหาเชื้อทางห้องปฏิบัติการ
ช่องทางที่เอาไว้ตรวจสอบการระบาดของไวรัสอีโบลาคือที่องค์การอนามัยโลก หรือชื่อสั้นๆ WHO (World Health Organization)ครับ >> http://www.who.int