วันพฤหัสบดีที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2558

นโยบายเศรษฐกิจดิจิตอล Digital Economy

นโยบายเศรษฐกิจดิจิตอล Digital Economy


เมื่อปี 2557 หลังจากเรียกเสียงฮือฮาได้เป็นอย่างดี "เศรษฐกิจดิจิตอล Digital Economy" ในรัฐบาลนายประยุทธ จันทร์โอชา  เรามาทำความเข้าใจกันว่าเศรษฐกิจดิจิตอล นี่คืออะไร และคนไทยจะได้อะไรจากนโยบายเศรษฐกิจดิจิตอลนี้

นโยบายเศรษฐกิจดิจิตอล Digital Economy ของ “หม่อมอุ๋ย” ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกฯ ฝ่ายเศรษฐกิจ ที่ตั้งเป้าวางรากฐานเศรษฐกิจไทยไปสู่โลกดิจิตอลที่ไร้พรมแดน ถือเป็นนโยบายใหม่เอี่ยมของประเทศไทยที่ผ่านมาเทคโนโลยีการสื่อสารไทยถูกถูลู่ถูกัง ไม่ค่อยพัฒนาไปไหนมานานแล้ว ไม่ว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือ ทีวีดิจิตอล ในมือของ กสทช. ที่ยังใช้เทคโนโลยีที่ล้าหลัง

หน่วยงานที่ขานรับฉับไวต้องยกให้ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ กระทรวงไอซีที ของ รัฐมนตรีพรชัย รุจิประภา เตรียมเปลี่ยนชื่อ กระทรวงไอซีที เป็น กระทรวงดิจิตอล อีโคโนมี กลายเป็นกระทรวงทันสมัยขึ้นมาทันที

การสร้าง เศรษฐกิจดิจิตอล ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะจะต้องสร้าง โครงสร้างพื้นฐานเศรษฐกิจดิจิตอล ที่เป็นอินฟราสตรัคเจอร์ขึ้นมาเสียก่อน ซึ่งปัจจุบันไทยยังไม่พร้อมและแยกกันอยู่หลายหน่วยงาน เช่น กระทรวงไอซีที กสทช. เป็นต้น งานหินขั้นสำหรับ “หม่อมอุ๋ย” คือจะต้องรวมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับดิจิตอลอีโคโนมีทั้งหมด ให้ยุบรวมเป็นหน่วยงานเดียว ไม่ใช่แยกกันทำอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

วันนี้ โครงสร้างพื้นฐานดิจิตอลของไทยยังค่อนข้างล้าหลังมาก เมื่อเทียบกับเพื่อนบ้านอย่าง มาเลเซีย สิงค์โปร์ โดยเฉพาะ โทรศัพท์ 3 จี ที่อยู่ในการกำกับดูแลของ กสทช. ที่กำลังมั่วอยู่กับ ทีวีดิจิตอล ที่ตั้งกฎเกณฑ์มั่วไปหมด ไม่รู้เป็น 3 จีระบบอะไร การดาวน์โหลดข้อมูลก็ช้าเป็นเต่าคลาน ระบบเสียงก็ขาดๆหายๆ ไปอยู่มุมไม่ดี สายก็ขาด หรือโทร.ไม่ได้ แต่ กสทช. ก็ปล่อยปละละเลยให้เป็นอยู่อย่างนี้ ทั้งที่ผู้บริโภคเสียหาย

หนังสือพิมพ์ The Asian Wallstreet Journal ดิ เอเชียน วอลสตรีท เจอร์นัล ลงข่าว การจัดอันดับ 20 บริษัทยักษ์ใหญ่อินเตอร์เน็ตโลก โดยวัดจากมาร์เก็ตแคปหรือมูลค่าหุ้นในตลาด

อันดับ 1 Google  มีมูลค่าตลาด 390,500 ล้านดอลลาร์ คิดเป็นเงินบาทก็ประมาณ 12.5ล้านล้านบาท เกือบเท่าจีดีพีประเทศไทย 

อันดับ 2 facebook มีมูลค่าตลาด 193,900 ล้านดอลลาร์ ประมาณ 6.2 ล้านล้านบาท 

อันดับ 3 Alibaba บริษัทอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่จีน มีมูลค่าตลาด 165,000 ล้านดอลลาร์ ประมาณ 5.28 ล้านล้านบาท 

อันดับ 4 Amazon.com มีมูลค่าตลาด 149,600 ล้านดอลลาร์ ประมาณ 4.78 ล้านบาท 

อันดับ 5 Tencent Holding ของจีน มีมูลค่าตลาด 147,600 ล้านดอลลาร์ ประมาณ 4.72 ล้านล้านบาท

อันดับ 6 Baidu Inc. มีมูลค่าตลาด 73,600 ล้านดอลลาร์ ประมาณ 2.35 ล้านล้านบาท 

อันดับ 7 ebay.com มีมูลค่าตลาด 63,300 ล้านดอลลาร์ ประมาณ 2 ล้านล้านบาท 

ส่วน ํYahoo ไปอยู่ อันดับ 9 มีมูลค่าตลาด 42,300 ล้านดอลลาร์ ประมาณ 1.35 ล้านล้านบาท
Twitter  ไปอยู่ อันดับ 11 มีมูลค่าตลาด 30,000 ล้านดอลลาร์ ประมาณ 960,000 ล้านบาท

ข้อมูลเหล่านี้ยังไม่นับบริษัทที่ผลิตและขายสินค้าดิจิตอล เช่น Apple มีมูลค่าตลาด 560,337 ล้านดอลลาร์ ประมาณ 18 ล้านล้านบาท มากกว่าจีดีพีประเทศไทยทั้งประเทศ มากกว่ามาร์เก็ตแคปตลาดหุ้นไทยทั้งตลาด และ Microsoft ที่มีมูลค่าตลาด 344,458 ล้านดอลลาร์ ประมาณ 11 ล้านล้านบาท

ทีมงานนำข้อมูลเหล่านี้มาลงให้อ่านก็เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้เห็นว่า เศรษฐกิจในโลกดิจิตอลยิ่งใหญ่มหาศาลแค่ไหน นี่เพียงยกตัวอย่างมาแค่ 11 บริษัท ก็มีมูลค่าเศรษฐกิจปาเข้าไปถึง 69 ล้านล้านบาท หรือ 5 เท่าของจีดีพีประเทศไทย มากมายมหาศาลแค่ไหนลองไปนับนิ้วดู

การที่ “หม่อมอุ๋ย” ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกฯ ฝ่ายเศรษฐกิจ มีนโยบายที่จะ วางรากฐานเศรษฐกิจดิจิตอล ขึ้นในประเทศไทย จึงเป็นเรื่องที่ถูกต้องและสำคัญอย่างยิ่ง ถ้าต้องการให้นโยบายนี้ ประสบความสำเร็จ “หม่อมอุ๋ย” จะต้อง “ผ่าตัดใหญ่” ทั้ง กสทช.และ กระทรวงไอซีที กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเครือข่ายดิจิตอลทั้งหมดไม่งั้นไม่มีทางสำเร็จแน่ เพราะ “ตัวฉุดความเจริญ” มีเยอะจริงๆในประเทศไทย.

ขอบคุณที่มา ลมเปลี่ยนทิศ (ไทยรัฐออนไลน์)