วันอาทิตย์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2558

แนะนำ...วิธีตรวจสอบข้อมูลเงินประกันสังคมของตัวเองผ่านเว็บไซต์

เป็นกระทู้แนะนำเลยค่ะ สำหรับผู้ประกันตน วิธีตรวจสอบข้อมูลเงินประกันสังคม ของตัวเองผ่านเว็บไซต์
เห็นว่าเป็นข้อมูลที่ดีและควรจะแชร์ให้กับเพื่อนๆผู้ประกันตน จึงขอนำมาแบ่งปัน โดย copy ต้นฉบับมาเลยนะคะ


แนะนำ...วิธีตรวจสอบข้อมูลเงินประกันสังคมของตัวเองผ่านเว็บไซต์

*****************************************************************************

บางคนโดนหักเงินประกันสังคมไปทุกเดือน ก็ไม่รู้ว่าเงินนี้ไปถึงไหนยังไง วันนี้เลยขอแนะนำวิธีตรวจสอบข้อมูลด้วยตัวเองครับ*** 

1. เข้าเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม http://www.sso.go.th คลิกที่ปุ่ม Login ที่มุมขวามือด้านบนเพื่อเข้าสู่ระบบหรือสมัครสมาชิก


2. หากเป็นการใช้งานครั้งแรก ให้คลิกที่ "สมัครสมาชิก" แต่ถ้าเป็นสมาชิกแล้ว ข้ามไปข้อ 6


3. กรอกข้อมูลผู้ใช้ ซึ่งเราสามารถกำหนดได้เอง โดยดูคำแนะนำที่ระบุในเว็บไซต์


4. กรอกข้อมูลส่วนตัว


5. ระบบจะส่งข้อมูลยืนยันการเป็นสมาชิกไปที่อีเมล์ที่เราระบุ เข้าไปดูที่อีเมล์นั้น ถ้าไม่พบในกล่องจดหมาย อาจจะเข้าไปอยู่ที่กล่องอีเมล์ขยะ ซึ่งระยะเวลาที่จะได้ลิงค์ยืนยันการสมัครเข้าใช้งาน ไม่เกิน 24 ชม. (บางคนอาจจะ 5-10 นาทีก็ได้แล้ว แต่ไปอยู่ในกล่องเมล์ขยะ)


6. คลิกที่ลิงค์ในอีเมล์เพื่อเข้าสู่ระบบด้วยข้อมูลผู้ใช้และรหัสผ่านที่เรากำหนด หรือคลิกที่ปุ่ม Login ในหน้าแรกเพื่อกรอกข้อมูลผู้ใช้และรหัสผ่าน



7. คลิกที่ปุ่ม Login อีกครั้งเพื่อดูว่าเราเข้าสู่ระบบรึยัง ถ้าเข้าได้แล้ว จะปรากฏแถบยินดีต้อนรับเข้าสู่ระบบ


8. จากนั้นมาที่เมนู "ตรวจสอบข้อมูล" แล้วเลือก "สำหรับผู้ประกันตน" เพื่อดูข้อมูลต่างๆของเรา

 


9. จะเข้ามาที่หน้าข้อมูลที่เราสามารถตรวจสอบได้

10. ลองเลือก "ข้อมูลการส่งเงินสมทบ" ก็จะแสดงข้อมูลปีล่าสุด จะปรากฏจำนวนเงินที่เรานำส่งแต่ละเดือน ซึ่งถูกแยกเป็น 3 ส่วนคือ เจ็บป่วย ชราภาพ และว่างงาน ซึ่งสามารถดูย้อนหลังไปปีก่อนๆได้ โดยเปลี่ยน พ.ศ.ด้านบน


11. ต้องการดูข้อมูลอื่นก็คลิกที่ "สำหรับผู้ประกันตน" ที่ด้านบน



12. ลองดูว่าถ้าเราอายุครบ 55 ปีตามเกณฑ์ เราจะได้เงินเท่าไหร่
      คลิกที่ "การคำนวณเงินสงเคราะห์ชราภาพ"


จะแสดงข้อมูลส่วนแรก กรณีที่จ่ายเกิน 12 เดือน ก็จะมีทั้งส่วนที่เราสมทบ นายจ้างสมทบ และรัฐบาลสมทบ (เราสมทบ 35,093 บาท นายจ้างและรัฐสมทบมาอีกเท่าตัว)



นอกจากนี้ ก็จะมีตารางคำนวณผลประโยชน์ที่ได้รับเพิ่มเติมให้ด้วย


จะเห็นว่า เบ็ดเสร็จแล้วเราจ่ายประกันสังคมส่วนของกรณีชราภาพไปทั้งสิ้น 35,093 บาท แต่เราจะได้กลับคืนมาตั้ง 84,218 บาท

หมั่นตรวจสอบเงินของเราเพื่อรักษาสิทธินะครับ


  • ปล. มีผู้ประกันตนจำนวนไม่น้อยที่ไม่รู้ว่าตัวเองมีสิทธิในเงินสงเคราะห์ชราภาพก็เลยไม่ได้ยื่นเรื่องขอรับเงิน ทำให้เสียสิทธิที่ควรได้เป็นจำนวนเงินไม่น้อยเลยนะครับ
  • ปล.2 ถ้าเกิดสิทธิที่จะได้รับเงินสงเคราะห์ชราภาพ (บำเหน็จ/บำนาญ) ให้ไปยื่นเรื่องที่สำนักงานประกันสังคมเขตใดก็ได้ที่สะดวก ภายใน 1 ปีนับตั้งแต่ที่เกิดสิทธิ มิฉะนั้นอาจเสียสิทธิรับเงินก้อนนี้ก็ได้ครับ โดยติดต่อขอรับแบบ สปส 2-01  พร้อมเตรียมสำเนาบัตรประชาชน และสำเนาสมุดบัญชีธนาคารไปด้วย จะไปยื่นเอง หรือให้ผู้อื่นไปยื่นแทนก็ได้ครับ
  • ปล.3 เงินที่จะได้คืนตามตารางที่คำนวณในเว็บไซต์ จะได้คืนเป็นก้อนเดียวครั้งเดียว (บำเหน็จ) มีเงื่อนไขคือต้องส่งเงินสมทบไม่ถึง 180 เดือน แต่ถ้าส่ง 180 เดือนขึ้นไป จะได้รับเป็นรายเดือน (บำนาญ) ไปตลอดชีวิต รับเป็นเงินก้อนไม่ได้ (มีสูตรคำนวณจำนวนที่จะได้รับแต่ละเดือนในเว็บไซต์)
  • ปล.4 ตอนนี้อยู่ระหว่างการพัฒนาระบบข้อมูลของผู้ประกันตนตามมาตรา 40 (ไม่ใช่ลูกจ้าง) เลยยังไม่สามารถเช็คข้อมูลผ่านหน้าเว็บได้
  • ปล.5 กรณีที่มีปัญหาในการสมัครสมาชิกเว็บไซต์ หรือไม่สามารถทำการ Login ได้ แนะนำให้ติดต่อ โทร. 02-9562400 ในวันและเวลาราชการ 08.30-16.30 น. แต่ถ้ามีข้อสงสัยอื่น ๆ เกี่ยวกับประกันสังคม ติดต่อสายด่วน 1506 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุด (มีคนรับสายตลอด)


ขอบคุณที่มา :  แนะนำ...วิธีตรวจสอบข้อมูลเงินประกันสังคมของตัวเองผ่านเว็บไซต์

แก้กม.ประกันสังคม เพิ่มสิทธิประโยชน์ผู้ประกันตนมากขึ้น

แก้กม.ประกันสังคม เพิ่มสิทธิประโยชน์ผู้ประกันตนมากขึ้น

ปลัดกระทรวงแรงงาน เผยความคืบหน้าแก้กฎหมายประกันสังคม คาดกลางก.พ. นำเข้า กมธ.สนช.ได้ แจงเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้ผู้ประกันตนหลายประการ เพิ่มสงเคราะห์บุตรจาก 2 คน เป็น 3 คน เหมาจ่ายคลอดบุตรไม่จำกัดจำนวนครั้ง คุ้มครองกรณีฆ่าตัวตาย กำหนดค่าใช้จ่ายช่วยเหลือเบื้องต้นทางการแพทย์โดยไม่พิสูจน์ถูกผิด



นายนคร ศิลปอาชา ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ได้รับรายงานความคืบหน้าของร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ที่มีการแก้ไขไป 45 มาตราจาก นางปราณิน มุตตาหารัช เลขาธิการประกันสังคมว่า ปัจจุบันมีความก้าวหน้าไปมาก โดยคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม ได้พิจารณาครบทั้ง 45 มาตราแล้ว คาดว่าไม่เกินกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2558 จะสามารถนำเข้าคณะกรรมาธิการสามัญกิจการ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้

ทั้งนี้ การแก้กฎหมายดังกล่าวนับเป็นส่วนสำคัญที่เอื้อต่อการปฏิรูประบบประกันสังคมสำหรับสิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกันตนได้สิทธิ์เพิ่มมากขึ้น ภายหลังจากที่ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้มีผลบังคับใช้ อาทิเช่น

เพิ่มสิทธิด้านสุขภาพในการป้องกันโรค

ขยายระยะเวลาในการยื่นผลประโยชน์ทดแทน 7 ประการ อาทิ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย

เพิ่มเรื่องค่าส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค จากเดิมไม่มี

การกำหนดค่าใช้จ่ายเป็นการช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ผู้ประกันตนที่ได้รับความเสียหายจากการรับบริการทางการแพทย์ เป็นเงินช่วยเหลือเบื้องต้นที่จะมีให้โดยไม่ดูว่าฝ่ายใดผิดฝ่ายใดถูก โดยหากเป็นการทำงานตอบแทนเป็นนายจ้าง ลูกจ้างกันจริง จะครอบคลุมด้วย

และให้ผู้ประกันตนได้รับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น กรณีได้รับความเสียหายในการรับบริการทางการแพทย์ ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้เสียหายทางการแพทย์


  • กรณีคลอดบุตร ดำเนินการให้เงินเหมาจ่ายคลอดบุตรโดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง
  • กรณีสงเคราะห์บุตร สามารถรับเงินทดแทนสงเคราะห์บุตรได้ 3 คนจากเดิม 2 คน
  • กรณีว่างงาน ให้ความคุ้มครองสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานแก่ผู้ประกันตน เพิ่มในกรณีนายจ้างหยุดกิจการชั่วคราวเพราะเหตุสุดวิสัยโดยไม่มีการเลิกจ้างจะมีการจ่ายประโยชน์ทดแทนให้เพื่อเป็นการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนให้ลูกจ้าง
  • กรณีเจ็บป่วยเรื้อรัง ไม่สามารถจ่ายเงินสมทบได้ ในร่างใหม่กำหนดให้ผู้ที่เจ็บป่วยเรื้อรัง ถึงแม้ไม่มีการสมทบจะได้สิทธิประโยชน์ตรงนี้ขึ้นมา โดยจะได้เงินสงเคราะห์
  • หากเกิดกรณีเสียชีวิต ผู้จงใจให้ตนเองได้รับบาดเจ็บ กรณีทุพพลภาพและตาย จากเดิมจะไม่คุ้มครองแต่ในร่างฯ ใหม่จะให้มีการคุ้มครอง
  • กรณีทุพพลภาพ จากเดิมเมื่อแพทย์ตรวจแล้วจะต้องมีการสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไปถึงจะเรียกว่าผู้ทุพพลภาพ 
    ร่างฯ ใหม่ไม่ต้องสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานถึงร้อยละ 50 จะถือว่าเป็นผู้ทุพพลภาพด้วย แต่ว่าในด้านการจ่ายประโยชน์ทดแทนอาจจะไม่ถึง 50% อาจจะลดหย่อนลงบ้างแต่ถือว่าให้สิทธิ์ผู้เจ็บป่วยที่ไม่ถึงเกณฑ์ มีการขยายระยะเวลาการยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนจากเดิมเพียง 1 ปี เป็น 2 ปี ขยายความคุ้มครองไปที่ลูกจ้างส่วนราชการ ชั่วคราวทุกประเภท "ลูกจ้างชั่วคราว" ให้ครอบคลุมถึงลูกจ้างชั่วคราวทั้งหมดให้ได้รับสิทธิประโยชน์ ส่วนการจ้างเหมาบริการ สัญญาปีต่อปี ฯลฯ เป็นต้น


ข้อมูลจากสำนักงานประกันสังคม ณ เดือนธันวาคม 2557  มีผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม จำนวนทั้งสิ้น 13,625,658 คน

  • แบ่งเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33 จำนวน 10,029,777 คน 
  • ผู้ประกันตน มาตรา 39 จำนวน 1,124,765 คน 
  • ผู้ประกันตน มาตรา 40 จำนวน 2,471,116 คน

    SSO Channel คลิป vdo ประกันสังคม : ปรับเปลี่ยน พัฒนา เพื่อผู้ประกันตน